บรรษัทภิบาล

Corporate Governance

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการบริษัทเชื่อมั่นว่าภายใต้กรอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุก ฝ่าย ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทตระหนัก และมุ่งมั่นที่จะบริหารงานโดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้มอบหมายให้ฝ่าย บริหารกำหนดให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่จะนำองค์กรให้เติบโต ด้วยความโปร่งใส และมีส่วนรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยแบ่งเป็นหมวด ดังนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายต่างๆ ขึ้น เพื่อให้พนักงานทุกระดับยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ และให้สื่อสารกับพนักงานที่ เกี่ยวข้องได้รับทราบในนโยบายต่างๆ ของบริษัท ซึ่งนโยบายของบริษัท ประกอบด้วย

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  • นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  • นโยบายต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  • นโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • นโยบายการเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
  • นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับ-ให้ของขวัญ ของที่ระลึก หรือประโยชน์อื่นใด, การ เลี้ยงรับรอง, การบริจาค, การสนับสนุน และการช่วยเหลือทางการเมือง
  • คู่มือจัดซื้อจัดจ้าง
  • คู่มือจริยธรรม นโยบายและระเบียบข้อบังคับของพนักงาน
  • คู่มือสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ
  • นโยบายและแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เรื่องการรับข้อร้องเรียน หรือรับแจ้งเบาะแสและมาตรการคุ้มครอง –
  • คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ

นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท

นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท นโยบายบริษัท

ด้วยมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นควรให้กำหนดนโยบายการต่อต้านทุจริต คอร์รัปชัน ดังนี้
บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยในปี 2560 บริษัทได้เข้าร่วมใน “แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต” (Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม รวม ทั้งกำหนด “นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัท นำไปปฏิบัติ โดยทั่วกัน

คำนิยาม

การทุจริต/คอร์รัปชัน (Corruption) หมายถึง การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่ หรือ การใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ โดยมิชอบในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ สัญญาว่าจะให้ มอบให้ ให้คำมั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง หรือรับ ซึ่งเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสม กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือผู้มีหน้าที่ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทาง อ้อม เพื่อให้บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหรือละเว้นการ ปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งธุรกิจ หรือแนะนำธุรกิจให้กับบริษัทโดย เฉพาะ หรือเพื่อให้ได้มาหรือรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้า ให้กระทำได้

วัตถุประสงค์

คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับ และพนักงานทุกคนของบริษัท ตกลงร่วมกันที่จะดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องตาม กฎหมาย หลักธรรมาธิบาลที่ดี และมีแนวทางปฏิบัติในการต่อต้าน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเคร่งครัด
หน้าที่ความรับผิดชอบ

คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรม องค์กร

คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการสอบทานระบบรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบ ภายในและระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย

กรรมการ และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท โดยจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่นำไปสู่การ ฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยบริษัทจะทำการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านการจัดอบรมและการปฐมนิเทศน์ หรือจะติดประกาศ ภายในบริษัท หรือเปิดเผยนโยบายบนเว็บไซต์ของบริษัท รวมทั้งสื่อสารให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

แนวปฏิบัติ

กรรมการบริษัท ผู้บริหาร พนักงานของบริษัททุกระดับ ต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณของบริษัทอย่าง เคร่งครัด
พนักงานบริษัท ไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายคอร์รัปชันการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับ บัญชา หรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ ที่บริษัทกำหนดไว้ บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่ปฏิเสธหรือแจ้งเบาะแส หรือหลักฐานเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่บริษัทกำหนดไว้ในนโยบายการแจ้งข้อร้องเรียน และมาตรการ คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

ผู้ที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ชื่อของบริษัทถือเป็นการกระทำผิด ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้ นอกจากนี้ อาจจะได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายมาตรการดำเนินการของบริษัท

Code of Conduct

จริยธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นการประมวลแบบแผน ขอบเขตมาตรฐานความประพฤติ และพฤติกรรมที่พนักงานทุกคนของบริษัท พึงใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในวิถีทาง เดียวกัน

1. การเคารพกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท ยึดมั่นให้พนักงานทุกคนเคารพ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตลอดจนขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และ วัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้งการเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย และมาตรฐานสากล โดยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญใน การปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทย่อย และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของบริษัทอย่างเป็นธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งการรักษาสิทธิ มนุษยชนของพนักงานตามที่กฎหมายแรงงาน และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นธรรม

แนวปฏิบัติ

ให้ความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างในทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม และการให้สิทธิเท่าเทียมต่อคนพิการ

ดูแล รักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นส่วนบุคคลสู่สาธารณชน ก่อนได้รับความเห็นชอบจากผู้นั้น ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัท กำหนดไว้ และอาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

2. นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย

การดำเนินธุรกิจของบริษัท ย่อมเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งทางการค้า หน่วย ราชการ ตลอดจน ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น บริษัทจึงได้จัดทำ “นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น ซึ่งได้เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท

3. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

บริษัทกำหนดให้มีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัททุกคน มุ่งมั่นที่จะดำเนิน ธุรกิจอย่างมีคุณธรรม และให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ จะไม่มี การเรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือ คนรู้จักในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและ ทางอ้อม รวมทั้ง บริษัทจัดทำนโยบาย และขั้นตอนการรับข้อร้องเรียน แจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครอง เพื่อใช้เป็นช่องทางในการ สื่อสารให้กับบริษัท โดยนโยบายทั้งสองได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

ดำเนินการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน ดังนี้

  • แจ้งผ่านช่องทางกล่องแสดงความคิดเห็นของบริษัท ณ จุดบริเวณทางเดินเข้า-ออก ทั้งที่สำนักงานใหญ่ และโรงงาน
  • แจ้งผ่านช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” มาที่ อีเมล์: [email protected] หรือช่องทางอีเมล์ของ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มาที่ อีเมล์: [email protected]
  • จดหมายปิดผนึก และจ่าหน้าซองถึง “ฝ่ายตรวจสอบภายใน” หรือ “ฝ่ายเลขานุการบริษัท” มายัง
    ที่อยู่: บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
    1065 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250

 

4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของบริษัท ภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย และจริยธรรมโดย หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่จะส่งผลกระทบในการตัดสินใจใดๆต่อบริษัท ดังนั้น กรรมการ ผู้ บริหาร และพนักงานควรพิจารณาแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูล ภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

 

5. การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ประโยชน์ส่วนตน และการให้ข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลภายนอกอัน จะนำมาซึ่งผลเสียหายที่จะเกิดต่อธุรกิจ และชื่อเสียงของบริษัท กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทมีหน้าที่อย่างเคร่งครัดในการเก็บรักษา ข้อมูลภายในบริษัทไว้เป็นความลับ โดยได้จัดทำนโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติในนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับ การใช้ข้อมูลภายใน และการดูแลรักษาทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

6. การเปิดเผย และการสื่อสารข้อมูล

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทควรเปิดเผยข้อมูล และสื่อสารข้อมูลของบริษัทด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน เท่าเทียมกัน และต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) การสื่อสารทางการ ตลาดภายใต้ตราสินค้าของบริษัท และการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์จะต้องกระทำด้วยความเหมาะสม ถูกต้องตามความเป็นจริง

แนวปฏิบัติ

การเปิดเผยข้อมูลที่อาจมีผลกระทบใดๆ ต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เว้นแต่จะได้รับมอบหมายจากผู้ มีอำนาจในเรื่องนั้นๆ

การเปิดเผยข้อมูลจะต้องระมัดระวังมิให้เกิดผลกระทบต่อบริษัท หรือผู้มีส่วนได้เสีย ห้ามใช้วิธีการสื่อสารทางการตลาดที่เป็นการเปรียบเทียบโดยตรงกับสินค้า หรือบริการของคู่แข่ง ไม่นำเสนอสิ่งที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม เช่น สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง ความเชื่อ ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ความคิดเห็นเรื่องเพศ หรือเรื่องที่ขัดต่อศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ในกรณีที่พบข้อมูล ข่าวสารที่กล่าวพาดพิงถึงบริษัท หรือการปฏิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อตราสิน ค้าของบริษัทอย่างไม่เหมาะสม ให้รีบแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือผู้บังคับบัญชาทันที

7.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของพนักงาน โดยบริษัทส่งเสริมและปลูกฝัง จิตสำนึกให้พนักงานทุกคนรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย

แนวปฏิบัติ

บริษัทจะดำเนินการเพื่อควบคุม และป้องกันการสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย และความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากการทำงาน ตลอดจนรักษา สภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย

บริษัทจะดำเนินการด้านความปลอดภัยทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิต และสุขภาพอนามัยของพนักงาน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิด ความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินของบริษัท

บริษัทถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและพนักงานทุกคนในการรายงานการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการปฏิบัติตามขั้นตอน หรือ กระบวนการต่างๆอย่าง เคร่งครัด
ผู้บริหารและพนักงานต้องดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างมีระบบ และถือเป็นส่วนหนึ่งของงาน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ป้องกันการสูญเสีย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร

ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย นโยบาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัท ว่า ด้วยความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

บริษัทจะทบทวนและประเมินระบบการดำเนินงาน ด้านความปลอดภัยเป็นระยะๆ เพื่อนำมาวางแผนในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่า กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่า กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่า กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่า กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่า กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะกรรมการบริหาร

นโยบาย-แนวปฎิบัติการรับข้อร้องเรียน

บริษัท จะให้ความเป็นธรรม และคุ้มครองพนักงาน หรือบุคคลอื่นใดที่แจ้งเบาะแสหรือหลักฐานเรื่องการทุจริต คอร์รัปชัน ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท รวมถึงพนักงานที่ปฏิเสธ ต่อการกระทำ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายการรับข้อร้องเรียน และมาตรการ คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน (Whistleblower Policy) ผู้ที่กระทำการทุจริต คอร์รัปชัน ถือเป็นการกระทำผิด ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการบริหารงานบุคคล สำหรับพนักงาน ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทาง วินัยที่กำหนดไว้ รวมถึงอาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายด้วย

แจ้งเบาะแสการทุจริต / ข้อร้องเรียน

บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) ที่อยู่:1065ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ10250

อีเมล : [email protected]

หมายเลขโทรศัพท : 0-2320-2288

ชื่อ(Required)

คณะกรรมการมีบทบาทและหน้าที่กำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการบริหารกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และทิศทางขององค์กรที่กำหนดไว้ รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายและกฏระเบียบต่างๆ ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างครอบคลุมและบูรณาการทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการเติบโตอย่างยั่งยืน